ประวัติโรงเรียน
โรงเรียนวัดดอกไม้ เดิมอาศัยศาลาการเปรียญวัดดอกไม้ ตำบลท่ามะเฟือง อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ ใช้เป็นสถานที่เรียน ครูใหญ่ชื่อ นายเทียบ ต่อมาได้ดำเนินการก่อสร้างโรงเรียน เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2466 ใช้ที่ดินธรณีสงฆ์ มีพื้นที่ 10 ไร่ 2งาน 23 ตารางวา จากเงินงประมาณและเงินบริจาคสมทบ โดยปลูกสร้างอาคารเรียน ตามแบบ ป.มาลากุล จำนวน 4 ห้อง กับอีก 1 ห้องประชุม การก่อสร้างดำเนินการในสมัยของหลวงบริบูรณ์ วุฒิราษฏร์เป็น นายอำเภอพิชัย และนายอำนวย คำคงอยู่เป็นครูใหญ่ ซึ่งอาคารเรียนก่อสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2500 เปิดทำการสอนตั้งแต่ ป.1-4 มีครูจำนวน 4 คน ปี พ.ศ . 2511 ได้รับอนุญาตให้เปิดสอนถึงชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ต่อมาในปี พ.ศ. 2512 นายบุญเลิศ กิมขาว ย้ายมาเป็นครูใหญ่ ได้สร้างบันไดคอนกรีตทั้ง 2 ข้าง และเจาะบ่อยาดาล 1 บ่อ จากเงินงบประมาณ พ.ศ. 2515 นายเลี่ยม บุญบุตร ดำรงตำแหน่งครูใหญ่ได้ก่อสร้างรั้วลวดหนาม เสาคอนกรีตจากการบริจาคเงินแลได้เงินงบประมาณการก่อสร้างบ้านพักครู จำนวน 1หลัง ปี พ.ศ. 2519 นายสุรศักดิ์ รุจิพจน์ รักษาการแทนครูใหญ่ ปี พ.ศ. 2520 ได้รับเงินงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียน 1 หลัง จำนวน 2 ห้องเรียน แบบป.1ฉ. และได้รับงบประมาณสร้างบ้านพักครู 1 หลัง และหาเงินบริจาคซื้อเครื่องพิมพ์ดีด จำนวน 1 เครื่อง ปี พ.ศ. 2521 นายสุรศักดิ์ รุจิพจน์ ดำรงตำแหน่งครูใหญ่และได้รับงบประมาณการก่อสร้างอาคารเรียน แบบ ป.1ฉ. จำนวน 1หลัง ปี พ.ศ. 2522 ได้รับเครื่องโรเนียว จำนวน 1เครื่อง ปี พ.ศ. 2523 ได้รับงบประมาณก่อสร้างโรงฝึกงาน จำนวน 1 หลัง พ.ศ. 2526 ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนจำนวน 1 หลัง แบบ สปช.103/26 ปี พ.ศ. 2527 ได้ก่อสร้างอาคารเรียน แบบ ป.1ฉ. จำนวน 3 ห้องเรียน โดยไม่ใช้งบประมาณทางราชการแต่อย่างใด
วิสัยทัศน์โรงเรียน
โรงเรียนวัดดอกไม้ได้จัการเรียนรู้คู่คุณธรรม ส่งเสริมศิลปะดนตรีไทย มีความพอเพียง ชุมชนมีส่วนร่วม ปลอดสารเสพติด พัฒนาผลสัมฤทธิ์ให้ได้มาตรฐาน
พันธกิจ
1. ให้บริการการศึกษาในเขตบริการ ครบทุกคน
2. เน้นการเรียนรู้คู่คุณธรรม ส่งเสริมการปฏิบัติตามระเบียบวินัย
3. พัฒนากระบวนการเรียนการสอน โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญพัฒนาผลสัมฤทธิ์ให้ได้มาตรฐาน
4. จัดส่งเสริมแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายทั้งในและนอกสถานที่
5. ส่งเสริมให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
6. ดำเนินการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลอย่างเป็นระบบ
เป้าหมาย
1. ให้บริการการศึกษาในเขตบริการ ครบทุกคน
2. ให้นักเรียนมีความรู้ มีทักษะ อย่างเต็มความสามารถ แสวงหาความรู้ใหม่ๆ นำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข